บทความเกี่ยวกับบัญชี
งบดุล
วันที่อัพเดท : 2015-07-20 14:19:51 | จำนวนผู้ชม 3290 | Share|
งบดุลคือ งบที่แสดงฐานะหรือความมั่งคั่งของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง โดย ด้านซ้ายมือ และด้านขวามือของงบดุล ต้องมียอดรวมเท่ากันเสมอ ด้านซ้ายมือคือสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่ ส่วนด้านขวามือบอกว่า สินทรัพย์เหล่านั้น ได้มาจากใครบ้าง และใครในที่นี้ก็มีแค่ 2 ประเภทเท่านั้น คือ เจ้าหนี้ ( หรือหนี้สิน) และ เจ้าของ (หรือส่วนของเจ้าของ) ซึ่งเป็นที่มาของสมการบัญชีที่ว่า
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
มาคราวนี้เราจะได้รู้จักงบดุลกันมากขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าใจ ความหมายของตัวเลขต่างๆ ในงบดุลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยจะเริ่มจากโครงสร้างของงบดุล และตัวอย่างงบดุลก่อนในคราวนี้ ส่วนคราวต่อๆ ไปก็จะได้ทำความรู้จักงบดุลในแง่มุม และรายละเอียดต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก
รูปแบบของงบดุล
จากข้อสรุปข้างต้น งบดุลแบ่งเป็นด้านซ้ายมือ และด้านขวามือ ถือเป็นงบดุลแบบบัญชี คือเหมือนบัญชีที่มีสองข้างสำหรับไว้บันทึกรายการ โดยสินทรัพย์อยู่ด้านซ้ายมือ ส่วนหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ อยู่ด้วยกันทางด้านขวามือ แต่งบดุลแบบบัญชีไม่เป็นที่นิยมใช้กัน เพราะมีพื้นที่จำกัดเพียงครึ่งหน้า จึงมีการทำงบดุลแบบรายงาน โดยการใช้พื้นที่เต็มหน้า ไม่มีการแบ่งเป็นซีกซ้ายซีกขวา เริ่มด้วยส่วน สินทรัพย์ก่อน แล้วตามด้วย หนี้สิน และ ส่วนของเจ้าของ
ส่วนบนสุดของงบดุล
บรรทัดแรกสุด เป็นชื่อของกิจการ หรือองค์กร ซึ่งบางครั้งก็อาจสลับกับบรรทัดที่สองได้
บรรทัดที่สองของงบการเงิน จะเป็นชื่อของงบนั้นๆ ในที่นี้ก็คือคำว่า “ งบดุล ” นั่นเอง บรรทัดที่สาม เป็นวันที่ ของงบดุล หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ งบดุลนั้น แสดงสถานะทางการเงินของกิจการ ณ วันที่เท่าใด
งบดุลมีได้กี่คอลัมน์
งบดุลที่ง่ายที่สุด จะแบ่งออกเป็นส่วนตัวอักษร และส่วนที่เป็นตัวเลข โดยส่วนที่เป็นตัวเลขนี้จะต้องมีหลักตรงกัน และอยู่ขวามือสุด งบดุลแบบนี้ใช้แสดงสถานะทางการเงินของกิจการเพียงปีเดียว จึงมีช่องตัวเลขช่องเดียว
งบดุลที่นิยม จะมีช่องตัวเลข 2 ช่อง ใช้แสดงตัวเลขสถานะทางการเงินของกิจการ 2 ปีเปรียบเทียบกัน เพราะตัวเลขทางการบัญชีทั้งหลาย หากนำมาเปรียบเทียบกันมากเท่าไร ก็จะมีความหมายเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น การวิเคราะห์งบการเงินส่วนใหญ่ จึงเป็นการการนำตัวเลขในงบการเงินมาเปรียบเทียบกัน หรือนำตัวเลขในงบหนึ่ง ไปเปรียบเทียบกับอีกงบหนึ่ง เช่น นำรายการในงบดุลด้วยกันเปรียบเทียบกันเอง หรือ นำรายการในงบกำไรขาดทุนเปรียบเทียบกันเอง หรือ นำรายการในงบดุลเปรียบเทียบกับรายการในงบกำไรขาดทุน เป็นต้น
กิจการที่มีฐานะเป็นบริษัทแม่ มีเงินลงทุนในบริษัทลูกตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไป จะต้องแสดงงบดุลทั้งในส่วนเฉพาะของกิจการเอง กับส่วนที่เป็นตัวเลขรวมของบริษัทในเครือทั้งหมดรวมกันที่เรียกว่างบดุลรวม ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฉะนั้นงบดุลสำหรับกรณีนี้จึงมีตัวเลขมากถึง 4 ช่อง คือ 2 ช่อง สำหรับงบดุลรวม และอีก 2 ช่อง สำหรับส่วนเฉพาะของกิจการ เพื่อลดความซับซ้อนของตัวเลข เราจึงไม่กล่าวถึงงบดุลรวมในตอนนี้ และให้ความสนใจแต่เฉพาะงบดุลที่มีตัวเลขเพียง 2 ช่องเท่านั้น
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
อยู่ๆ งบดุลตัวอย่างก็มีช่องหมายเหตุเพิ่มขึ้นมาอีกช่องหนึ่ง นอกจากช่องตัวเลขของปี พ.ศ. 2544 และ ปี พ.ศ. 2543 และท้ายสุดของงบดุลยังมีข้อความต่อท้ายไว้อีกด้วยว่า “ หมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ ”
หมายเหตุประกอบงบการเงินคืออะไรกันแน่ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ก็เพราะกิจกรรมการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน มีความสลับซับซ้อน และแตกต่างกันได้มากมาย แถมวิธีการบัญชีในบางเรื่องก็เปิดโอกาสให้มีการเลือกใช้ได้อีกด้วย การที่จะให้งบการเงินเพียงไม่กี่หน้าสามารถถ่ายทอดภาพ ของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในรอบปีได้ทั้งหมดอย่างพอเพียงและง่ายต่อการทำความเข้าใจ จึงเป็นความยากลำบากเป็นอย่างมากของนักบัญชีที่จะนำเสนอ แต่เฉพาะตัวงบการเงินเองให้สามารถให้ข้อมูลได้อย่างพอเพียง ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
หมายเหตุประกอบงบการเงิน จึงเกิดขึ้นเพื่อช่วยให้ตัวงบการเงิน ไม่ต้องมีรายละเอียดรกรุงรัง มากเกินไป โดยมีการนำรายละเอียดเพิ่มเติม บางส่วนไปไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินเสียบ้าง หมายเหตุประกอบเงินการเงินจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน ที่จะต้องนำมาใช้ประกอบกันจึงจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินที่ครบถ้วน
เลขในช่องหมายเหตุ ในงบดุล เป็นช่องที่บอกว่ารายการในงบดุลนั้นๆ ต้องอ่านหมายเหตุเลขที่ใดประกอบด้วยเพื่อให้ทราบรายละเอียดเพิ่มเติม
รายการหลักในงบดุลมีอะไรบ้าง
อย่างสรุปที่สุดก็คือ งบดุล มี3 ส่วน ได้แก่ส่วน สินทรัพย์ หนี้สิน และ ส่วนของเจ้าของ
สินทรัพย์ ยังแบ่งออกเป็น สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน และ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
หนี้สิน แบ่งออกเป็น หนี้สินหมุนเวียน และ หนี้สินไม่หมุนเวียน
ส่วนของเจ้าของสำหรับกรณีบริษัทจำกัด เราเรียกส่วนนี้ว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น เพราะผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด คือเจ้าของกิจการนั่นเอง ส่วนของผู้ถือหุ้น แบ่งออกเป็น ทุนเรือนหุ้น และ ส่วนเกินมูลค่าหุ้น
บทความเกี่ยวกับบัญชี
บัญชีเดี่ยว-บัญชีคู่
สำหรับคนที่ไม่รู้บัญชี การมานั่งจดบันทึกข้อมูลถือเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก คนส่วนใหญ่บันทึกข้อมูลโดยการจดๆ ไว้ ในสมุดพกเพื่อให้ตัวเองเข้าใจว่า ได้ทำอะไร กับใคร ด้วยจำนวนเท่าไร พอสองสามวันที ก็จะนั่งดูที |
|
งบดุล
งบดุลคือ งบที่แสดงฐานะหรือความมั่งคั่งของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง โดย ด้านซ้ายมือ และด้านขวามือของงบดุล ต้องมียอดรวมเท่ากันเสมอ ด้านซ้ายมือคือสินทรัพย์ที่ กิจการมีอยู่ |
|
เหตุผลที่ต้องทำบัญชี
ตามที่ท่านได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตั้งใหม่กับกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ทางบริษัทฯ ขอเรียนว่า เมื่อท่านได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว |
|
ปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชี..บทคัดย่องานวิจัย
การศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชี ปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงาน |
|
ดาวน์โหลด
-
-บันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญา
-บันทึกข้อตกลงสำหรับการเปลี่ยนแปลง
ข้อตกลง
-บันทึกรับสภาพหนี้
-
-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-ภาษีเงินได้นิติบุคคล
-ภาษีมูลค่าเพิ่ม
-
-คำขอหนังสือรับรอง/ตรวจค้น/รับรอง
สำเนาเอกสาร
-หนังสือนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
-ส.บช.1 คำขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและ
เอกสารประกอบลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น
-
>>แบบฟอร์มนักบัญชี-ผู้สอบบัญชี<<
-แบบส.บช5 แบบแจ้งการทำบัญชี
-แบบส.บช5ข แบบแจ้งการเป็นผู้มีคุณสมบัติ
เป็นผู้ทำบัญชีได้
-แบบส.บช.6 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการ
ทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
-
>>ฟอร์มจดทะเบียนเลิกบริษัทฯ-ห้างหุ้นส่วนฯ<<
-ลช.1 คำขอจดทะเบียนเลิก และชำระบัญชี
ห้างหุ้นส่วน/บริษัท
-ลช.2 รายการจดทะเบียนเลิก ห้างหุ้นส่วน/บริษัท
-ลช.3 รายการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วน/บริษัท
-
>>แบบฟอร์มร้านค้า-ทะเบียนพาณิชย์<<
-คำขอจดทะเบียนพาณิชย์
-รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์
-แบบคำร้องทั่วไป
-
>>แบบฟอร์มสำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัด<<
-หส.1 คำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
-หส.2 รายการจดทะเบียน/แบบจดทะเบียนแก้ไข
-แบบ ว. รายละเอียดวัตถุที่ประสงค์
-
-บอจ.1 คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด
-บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ
-บอจ.3 รายการจดทะเบียนจัดตั้ง